วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สินค้า

สินค้า
จากศูนย์คนรักไอที

1.เข็มกลัด (เลือกรูปได้)



















2.พวงกุญแจ (เลือกรูปได้)
























4.เสื้อยืดสกรีนลาย (ออกแบบลาย)









5.แก้วน้ำ (ออกแบบได้)


















6.หมอน (เลือกลายได้)



















วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ 
แกงกระด้าง
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่่แกงกระด้าง
แกงกระด้าง บ้างเรียกว่า แกงหมูกระด้าง แกงหมูหนาว นิยมใช้ขาหมูทำ เพราะเป็นส่วนที่มีเอ็นมาก เป็นส่วนที่ทำให้แกงข้น เกาะตัว หรือกระด้างง่าย แต่ปัจจุบันมีการเติมผงวุ้นเย็น เพื่อช่วยให้แกงกระด้างได้ดีและเร็วขึ้น แกงกระด้างมี 2 สูตร คือแบบเชียงใหม่ และแบบเชียงราย สำหรับแกงกระด้างแบบเชียงรายจะใส่เครื่องแกงลงไปขณะต้มขาหมู และจะมีสีส้มจากพริกแห้ง (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 475; ดีกิจ กัณทะกาลังค์, 2550, สัมภาษณ์)

ส่วนผสม

1.ขาหมู300กรัม
2.กระเทียม20กลีบ
3.พริกไทย1/2ช้อนโต๊ะ
4.รากผักชี3ราก
5.ผักชี1ช้อนโต๊ะ
6.ต้นหอม1ช้อนโต๊ะ
7.เกลือ1/2ช้อนชา

วิธีการทำ

1
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
2
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
3
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
4
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
5
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

1. ล้างขาหมูให้สะอาด เลาะเอากระดูกออก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
2. นำขาหมูที่หั่นแล้วไปต้ม เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง
3. โขลกกระเทียม พริกไทย และรากผักชี รวมกันให้ละเอียด
4. ใส่ส่วนผสมที่โขลกลงในหม้อต้มขาหมู ตามด้วยเกลือ ต้มต่อสักครู่
5. เทใส่ถาด นำใส่ตู้เย็น จนแข็งตัว หรือในหน้าหนาว ทิ้งไว้ค้างคืน แกงจะแข็งตัวเอง โรยหน้าด้วยผักชีซอยและต้นหอมซอย

เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม

เคล็ดลับในการปรุง
ขาหมูควรเผาไฟก่อน เพื่อให้ขนหลุดออกง่าย

เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม
ขาหมู ควรสดและใหม่ เลือกที่หนังไม่หนาเกินไป
อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ
หลามบอน

คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่่หลามบอน
หลามบอน มีวิธีการทำคล้ายกับแกงบอน แต่ทำให้สุกโดยใส่ลงกระบอกไม้ไผ่ นำมาเผากับถ่านไม้ และไม่ผัดเครื่อแกงกับน้ำมันพืช (สุมาลี ทะบุญ, สัมภาษณ์, 24 มิถุนายน 2550)

ส่วนผสม

1.บอนต้นอ่อน500กรัม
2.ใบมะกรูด5ใบ

เครื่องแกง

1.พริกแห้ง15เม็ด
2.หอมแดง7หัว
3.ข่าหั่น1ช้อนโต๊ะ
4.ตะไคร้หั่น2ช้อนโต๊ะ
5.เม็ดผักชี1ช้อนโต๊ะ
6.เกลือ1ช้อนชา

วิธีการทำ


1
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
2
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
3
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
4
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
5
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
6
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

1. ปอกเปลือกบอน หั่นเป็นท่อน ล้างน้ำ นำไปนึ่ง นึ่งให้สุกจนเละ ประมาณ 30 นาที พักไว้
2. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
3. ผสมเครื่องแกงกับบอนนึ่งคนให้เข้ากัน
4. ใส่ส่วนผสมลงในกระบอกไม้ไผ่
5. นำไปย่างไฟ คอยเติมน้ำ ใช้ไม้คนไปมา
6. เมื่อหลามบอนสุกแล้ว ผ่าครึ่งกระบอกไม้ไผ่ นำมารับประทานได้

เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม

การย่างหลามบอนกับเตาถ่าน ต้องคอยใส่น้ำ และใช้ไม้คนตลอดเวลา เพื่อให้ส่วนผสมเข้ากัน

อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ


ข้าวซอยไก่


คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่่ข้าวซอยไก่

ข้าวซอยเป็นอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีที่มาจากอาหารของชาวมุสลิม โดยชาวจีนฮ่อมุสลิม ซึ่งบางแห่งเรียกชื่อเต็มว่า ข้าวซอยฮ่อ หรือ ข้าวซอยอิสลาม ดังนั้น ข้าวซอยจึงใช้เนื้อไก่และเนื้อวัวเป็นส่วนผสม 

ส่วนผสม

1.น่องไก่1กิโลกรัม
2.เส้นข้าวซอย1/2กิโลกรัม
3.น้ำมันพืช1ถ้วย
4.กะทิ3ถ้วย

เครื่องแกง

1.พริกแห้ง10เม็ด
2.กระเทียม10กลีบ
3.หอมแดง10หัว
4.ผิวมะกรูด1ลูก
5.กระชาย5หัว
6.ขมิ้น2ชิ้น
7.ตะไคร้ซอย2ช้อนโต๊ะ
8.น้ำตาลปี๊บ2ช้อนโต๊ะ
9.กะปิ3ช้อนโต๊ะ
10.ผงกะหรี่1ช้อนโต๊ะ

เครื่องเคียง

1.พริกป่นผัดน้ำมัน
2.หอมแดง
3.ผักกาดดอง
4.มะนาว
5.ผักชี
6.ต้นหอม

วิธีการทำ

1
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
2
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
3
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
4
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
5
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
6
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
7
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

1. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
2. ตั้งน้ำกะทิประมาณ 1 ถ้วย พอเดือด
3. ใส่เครื่องแกงผัดจนหอม
4. ใส่ผงกะหรี่ละลายน้ำเล็กน้อย
5. ใส่ไก่ ผัดให้เข้ากัน เติมน้ำเล็กน้อย ใส่น้ำตาลปี๊บ แล้วเติมกะทิ เคี่ยวต่อจนไก่นุ่ม
6. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช พอร้อนใส่เส้นข้าวซอยที่คลี่ออกจากกันแล้ว ทอดพอเหลืองกรอบ เพื่อทำเส้นกรอบสำหรับโรยหน้า
7. ลวกเส้นข้าวซอยกับน้ำเดือดประมาณ 1 นาที แล้วนำมาลวกในน้ำเย็น

เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม

เคล็ดลับในการปรุง
ข้าวซอยปรุงได้ทั้งเนื้อไก่ เนื้อวัว สำหรับการทำข้าวซอยเนื้อ สำหรับการทำข้าวซอยเนื้อควรหั่นเป็นชิ้นพอคำ ต้มให้เปื่อยก่อน แล้วนำไปเคี่ยวกับเครื่องแกง

เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม
การเลือกเนื้อไก่ ควรเลือกน่องและสะโพก สำหรับข้าวซอยเนื้อ ควรใช้เนื้อสันคอ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_lannafood.php?id_food=17
อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ

ขนมจีนน้ำเงี้ยว



ขนมจีน เป็นอาหารจานโปรดของหลายคน การดัดแปลงขนมจีนแล้วแต่ภาคแตกต่างกันไป เช่น ขนมจีนน้ำยาปลาช่อนของภาคกลาง ขนมจีนน้ำยาป่าภาคอีสาน ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ของภาคใต้ ถ้าเป็นภาคเหนือก็จะปรุงเป็นขนมจีนน้ำเงี้ยวก็จะต่างจากการทำน้ำยาของภาคอื่นๆ แทนที่จะใช้เนื้อปลา ก็จะใช้เป็นเนื้อสัตว์อื่นมาปรุงแทน เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ซี่โครงหมู เลือดหมู และรสชาติก็จะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของน้ำเงี้ยว

วิธีทำขนมจีนน้ำเงี้ยว

เครื่องปรุงขนมจีนน้ำเงี้ยว
1. ขนมจีน 30 จับ (1000 กรัม)
2. ซี่โครงหมูสับชิ้นเล็ก 500 กรัม
3. เลือดไก่หั่นชิ้น ขนาด 2×2 นิ้ว 500 กรัม
4. เนื้อหมูสับละเอียด 500 กรัม
5. มะเขือเทศลูกเล็ก (มะเขือส้ม) 500 กรัม
6. เกลือป่น 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
8. ดอกงี้ว ใส่ตามชอบค่ะ
9. น้ำมัน ¼ ถ้วย (45 กรัม)
เครื่องแกงขนมจีนน้ำเงี้ยว1. พริกแห้งแกะเม็ดแช่น้ำ 7 เม็ด (15 กรัม)
2. รากผักชีหั่นละเอียด 1 ช้อนชา (8 กรัม )
3. ข่าหั่นละเอียด 5 แว่น (40 กรัม)
4. ขมิ้นสดยาว 1 ซม.3 ชิ้น (15 กรัม)
5. ตะไคร้หั่นละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
6. หอมแดง 7 หัว (70 กรัม)
7. เกลือป่น 1 ช้อนชา (8 กรัม)
8. กระเทียม 3 หัว (30 กรัม)
9. กะปิ (หรือถั่วเน่าย่างไฟ 1 แผ่น)
10. 1 ช้อนชา (8 กรัม)
วิธีทำขนมจีนน้ำเงี้ยว1. โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
2. แช่ดอกงิ้วให้นิ่ม
3. ตั้งหม้อใส่น้ำ + ซี่โครงหมู ต้มให้เดือด และนำดอกงิ้วที่แช่ไว้ มาต้มด้วย
4. ใส่น้ำมันในกะทะ ตั้งไฟให้ร้อน ใส่เครื่องแกง ลงผัดให้หอม ใส่เนื้อหมู ผัดให้ทั่ว ผัดพอสุกใส่มะเขือเทศ คลุกให้ทั่ว ตักใส่ในหม้อที่ต้มซี่โครงหมู ตั้งไฟให้เดือดแล้วใส่เลือดไก่4. ตั้งไฟอ่อนพอให้น้ำเดือดปุดๆ เคี่ยวให้น้ำแกงหอม ซี่โครงหมูนุ่ม ปรุงรสด้วยเกลือ ชิมรส รับประทานกับขนมจีน หรือ เส้นใหญ่หั่นเล็กๆ ตามชอบ
ขนมจีนน้ำเงี้ยว
ขนมจีนน้ำเงี้ยว

สรรพคุณทางยาของขนมจีนน้ำเงี้ยว

1. มะเขือเทศ รสเปรี้ยว เป็นผักที่ใช้แต่งสีและกลิ่นอาหาร ช่วยระบายและบำรุงผิว
2. ผักกาดดอง รสเปรี้ยว ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะและลำไส้
3. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไขหวัด
4. ผักชี ช่วยละลายเสมหะ แก้หัด ขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เจริญอาหาร
5. มะนาว เปลือกผล รสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาว รสเปรี้ยวจัดขับเสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
6. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
7. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
8. ข่า รสเผ็ดปร่า และร้อน ช่วยขับลม ขับพิษโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้
9. ขมิ้นชัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
10. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
11. มะพร้าว (กะทิ) รสมัน บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูก
ประโยชน์ทางอาหาร ขนมจีนน้ำเงี้ยว เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย

คุณค่าทางโภชนาการของขนมจีนน้ำเงี้ยว

ขนมจีนน้ำเงี้ยว 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 3303 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
- น้ำ 3893.7 กรัม
- โปรตีน 476.4 กรัม
- ไขมัน 69.3 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 176.7 กรัม
- กาก 41.3 กรัม
- ใยอาหาร 8.3 กรัม
- แคลเซียม 1097.2 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 1947.3 มิลลิกรัม
- เหล็ก 509.6 มิลลิกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 1865 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 52038 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 198.4 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 5.4 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 91.7 กรัม
- วิตามินซี 320.2 มิลลิกรัม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://club.sanook.com/13530/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7/

"อาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือ"





ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดนต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วยอาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น    น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องมีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล  ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำ พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน  ชื่อต่าง ๆ เช่น  แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน

ตัวอย่างอาหารเมืองเหนือ



 1.ไส้อั่ว  คำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการนำสิ่งของยัดไว้ การทำไส้อั่ว นิยมใช้ไส้หมูและเนื้อหมู การทำไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหาร ให้สามารถรับประทานได้นานขึ้น คือประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในที่เย็น หรือปัจจุบัน มีการบรรจุถุงแบบสูญญากาศ ก็เก็บไว้ได้นานมากยิ่งขึ้น การทำให้ไส้อั่วสุก จะใช้วิธีปิ้ง หรือทอดก็ได้



2. น้ำพริกหนุ่ม คือ พริกหนุ่ม คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ




3.น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้  บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตร ใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส




4. แคบหมู  คือ แคบหมู เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวล้านนา ใช้รับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น น้ำพริก ขนมจีนน้ำเงี้ยว ใช้เป็นส่วนผสมในการตำน้ำพริก หรือแกง เช่น แกงบอน แกงผักตำลึง (แกงผักแคบ) แกงหน่อไม้ แคบหมูมีทั้งชนิดติดมัน และไม่ติดมัน ที่เรียกกันว่า แคบหมูไร้มัน ชาวล้านนาดั้งเดิม นิยมรับประทานแคบหมูเป็นอาหาร มากกว่าเป็นเครื่องแนม




5. แกงขนุน คือ  แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน ถือว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล บางท่านนิยมแกงกินในงานแต่งงาน เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน และในวันปากปี คือหลังวันเถลิงศก (วันพญาวัน) หนึ่งวัน บางแห่งนิยมใส่ข่า ตะไคร้ทุบ และอาจมีจักข่าน (สะค้าน) บ่าแขว่น (ผลกำจัด) โขลกใส่ลงไปในแกงด้วย




6.แกงอ่อม  คือ   เป็นแกงประเภทที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมหลัก เช่น ปลา เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อไก่ นอกจากเนื้อแล้ว นิยมใส่เครื่องในสัตว์เป็นส่วนผสมด้วย เรียกชื่อตามส่วนผสมหลัก ได้แก่ แกงอ่อมไก่ แกงอ่อมปลา แกงอ่อมเนื้อ (แกงอ่อมจิ๊นงัว แกงอ่อมจิ๊นควาย) แกงอ่อมหมู (แกงอ่อมจิ๊นหมู) บางก็แกงอ่อมเฉพาะเครื่องใน เช่น แกงอ่อมเครื่องในวัว แกงอ่อมเครื่องในควาย




7.แกงฮังเลหมู คือ  แกงฮังเลมี 2 ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า สำหรับแกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง งาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา และใช้เป็นส่วนผสมของแกงโฮะ




8.แอ็บปลา  คือ อาหารที่ปรุงด้วยการนำปลาสด เช่น ปลาช่อน ปลาดุก มาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง เช่นเดียวกับแอ็บอ่องออ แอ็บกุ้ง แล้วนำไปปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก






ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://piknikkannika.blogspot.com/





วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ชุดประจำชาติของญี่ปุ่น

กิโมโน (KIMONO)

กิโมโน (ภาษาญี่ปุ่น: 着物  kimono คิโมะโนะ) เป็นชุดแต่งกายประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น
ลักษณะของกิโมโน
กิโมโนประกอบด้วยเสื้อนางางิ (長着) ซึ่งมีลักษณะเป็นคลุมขนาดยาวที่มีแขนเสื้อที่มีความกว้างมาก และสายโอบิ (帯) ซึ่งใช้รัดเสื้อคลุมนี้ให้อยู่คงที่ ชุดกิโมโนทั้งของหญิงและชายเมื่อใส่แล้วจะพรางรูปของผู้สวมใส่ไม่ให้เห็นสัดส่วนที่แท้จริง ชุดกิโมโนของผู้หญิงโสดเป็นกิโมโนแขนยาว ลวดลายที่นิยมคือลายดอกซากุระ กิโมโนของผู้หญิงแต่งงานแล้วจะเป็นกิโมโนแขนสั้นสีไม่ฉูดฉาดมาก
untitled

ประวัติ
สมัยนารา (ค.ศ. 710 – 794) ก่อนที่ชุดกิโมโนจะเป็นที่นิยม ชาวญี่ปุ่นมักแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย
ต่อมาในสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 – 1192) ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดชุดเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ หยิบมาคลุมตัวได้ทันที ทั้งยังเป็นชุดที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ สามารถเปลี่ยนเนื้อผ้าที่ตัดเย็บให้เหมาะกับฤดูกาล ความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว โดยวงการแฟชั่นสมัยนั้น ผู้ตัดเย็บก็จะคิดหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสัน ผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและชนชั้นทาง สังคมถือว่าเป็นช่วงที่ชุดพัฒนาในเรื่อง สี มากที่สุด
ในยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1338 – 1573) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใส่ชุดกิโมโนที่สีสันแสบทรวง ยิ่งเป็นนักรบจะต้องยิ่งใส่ชุดที่สีฉูดฉาดมากๆเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำบางครั้งเรียกว่าไปแข่งแฟชั่นกันในสนาม รบเลยทีเดียว
ต่อมาในยุคเอโดะ ( ค.ศ. 1600-1868 ) ช่วงที่โชกุนโตกูกาวาปกครองญี่ปุ่น โดยให้ขุนนางไปปกครองตามแคว้นต่างๆ นั้น ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักจะแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตัวเอง เรียกว่าเป็น “ชุดเครื่องแบบ” เลยด้วยซ้ำชุดที่ใส่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ชุดกิโมโน ชุดคามิชิโม ตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้ง และกางเกงขายาวที่ดูเหมือนกระโปงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี้ยบมาก ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่พัฒนากิโมโนไปอีกขั้น จนเป็นผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง
สมัยต่อมา ในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 – 1912) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมากขึ้น ชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนมาใส่ชุดสากลในชีวิตประจำวัน และจะใส่ชุดกิโมโนเมื่อถึงงานที่เป็นพิธีการเท่านั้น
 วิธีการสวมชุดกิโมโน
1.สวมถุงเท้าทาบิสีขาวก่อนอันดับแรก สวมเหมือนถุงเท้าธรรมดาเลย!!
2.สวมชุดชั้นใน ที่เรียกกันว่า  จูบัน ซึ่งเป็นชุดชั้นในผ้าฝ้ายสีขาว ปัจจุบันนี้มีอีกแบบนึงที่เรียกว่า เอริ ซูกาตะ ซึ่งจะเป็นผ้าฝ้ายสีขาวเฉเพาะส่วนคอ
3. สวมกิโมโน สำหรับ ชาย และ หญิง จะมีวิธีที่เหมือนกัน คือ ซ้ายทับขวาหลังจากนั้นตรวจเช็คด้านหลังให้แน่ใจว่าตะเข็บอยู่ตรงกลาง
ปล.ถ้าขวาทับซ้ายจะเป็นสวมชุดกิโมโนให้กับคนตาย
4.ปรับคอชุดชั้นในให้โชว์ออกมาเพียงเล็กน้อยเท่าๆกันภายใต้คอของชุดกิโมโน
หลังจากเสร็จขั้นตอนของการสวมชุดกิโมโนแล้ว เรายังต้องคาดโอบิอีก
1.ดึงกิโมโนให้สุดความยาวของมัน
2.คาดเชือก โคชิ-ฮิโม จากด้านหลังแล้วผูกที่ด้านหน้า
3.คาดเข็มขัดอีกชิ้นนึง เรียกว่า date-jime belt ให้ทับ โคชิ-ฮิโม
4.วาง โอบิ-มาคุระ ไว้ที่ตำแหน่ง
5.ห่อด้วยโอบิ หรือ ผ้าคาดเอว
6.ผูกปลายทั้ง2 แล้วพับโอบิข้ามเอวไปด้านหลัง
8.ผูกให้แน่นตรงจุดกึ่งกลาง
 คำแนะนำ
–  เกล้าผมและติดปิ่นปักผมเพื่อความสวยงาม
–  อย่าลืมสวมรองเท้า Geta (เกี้ยะ)
–  ไม่ต้องกังวลถ้ากิโมโนยาวไปสำหรับคุณเพราะกิโมโนถูกทำขึ้นแบบนั้นอยู่แล้ว
โคชิ-ฮิโม
1
เอริ-ซูกาตะ
2
โอบิ มาคุระ
3
Date-jime belt (เข็มขัดกิโมโน)
4
รองเท้าเกี๊ยะ (Geta Sandals)

5