วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ 
แกงกระด้าง
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่่แกงกระด้าง
แกงกระด้าง บ้างเรียกว่า แกงหมูกระด้าง แกงหมูหนาว นิยมใช้ขาหมูทำ เพราะเป็นส่วนที่มีเอ็นมาก เป็นส่วนที่ทำให้แกงข้น เกาะตัว หรือกระด้างง่าย แต่ปัจจุบันมีการเติมผงวุ้นเย็น เพื่อช่วยให้แกงกระด้างได้ดีและเร็วขึ้น แกงกระด้างมี 2 สูตร คือแบบเชียงใหม่ และแบบเชียงราย สำหรับแกงกระด้างแบบเชียงรายจะใส่เครื่องแกงลงไปขณะต้มขาหมู และจะมีสีส้มจากพริกแห้ง (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 475; ดีกิจ กัณทะกาลังค์, 2550, สัมภาษณ์)

ส่วนผสม

1.ขาหมู300กรัม
2.กระเทียม20กลีบ
3.พริกไทย1/2ช้อนโต๊ะ
4.รากผักชี3ราก
5.ผักชี1ช้อนโต๊ะ
6.ต้นหอม1ช้อนโต๊ะ
7.เกลือ1/2ช้อนชา

วิธีการทำ

1
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
2
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
3
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
4
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
5
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

1. ล้างขาหมูให้สะอาด เลาะเอากระดูกออก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
2. นำขาหมูที่หั่นแล้วไปต้ม เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง
3. โขลกกระเทียม พริกไทย และรากผักชี รวมกันให้ละเอียด
4. ใส่ส่วนผสมที่โขลกลงในหม้อต้มขาหมู ตามด้วยเกลือ ต้มต่อสักครู่
5. เทใส่ถาด นำใส่ตู้เย็น จนแข็งตัว หรือในหน้าหนาว ทิ้งไว้ค้างคืน แกงจะแข็งตัวเอง โรยหน้าด้วยผักชีซอยและต้นหอมซอย

เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม

เคล็ดลับในการปรุง
ขาหมูควรเผาไฟก่อน เพื่อให้ขนหลุดออกง่าย

เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม
ขาหมู ควรสดและใหม่ เลือกที่หนังไม่หนาเกินไป
อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ
หลามบอน

คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่่หลามบอน
หลามบอน มีวิธีการทำคล้ายกับแกงบอน แต่ทำให้สุกโดยใส่ลงกระบอกไม้ไผ่ นำมาเผากับถ่านไม้ และไม่ผัดเครื่อแกงกับน้ำมันพืช (สุมาลี ทะบุญ, สัมภาษณ์, 24 มิถุนายน 2550)

ส่วนผสม

1.บอนต้นอ่อน500กรัม
2.ใบมะกรูด5ใบ

เครื่องแกง

1.พริกแห้ง15เม็ด
2.หอมแดง7หัว
3.ข่าหั่น1ช้อนโต๊ะ
4.ตะไคร้หั่น2ช้อนโต๊ะ
5.เม็ดผักชี1ช้อนโต๊ะ
6.เกลือ1ช้อนชา

วิธีการทำ


1
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
2
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
3
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
4
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
5
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
6
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

1. ปอกเปลือกบอน หั่นเป็นท่อน ล้างน้ำ นำไปนึ่ง นึ่งให้สุกจนเละ ประมาณ 30 นาที พักไว้
2. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
3. ผสมเครื่องแกงกับบอนนึ่งคนให้เข้ากัน
4. ใส่ส่วนผสมลงในกระบอกไม้ไผ่
5. นำไปย่างไฟ คอยเติมน้ำ ใช้ไม้คนไปมา
6. เมื่อหลามบอนสุกแล้ว ผ่าครึ่งกระบอกไม้ไผ่ นำมารับประทานได้

เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม

การย่างหลามบอนกับเตาถ่าน ต้องคอยใส่น้ำ และใช้ไม้คนตลอดเวลา เพื่อให้ส่วนผสมเข้ากัน

อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ


ข้าวซอยไก่


คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่่ข้าวซอยไก่

ข้าวซอยเป็นอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีที่มาจากอาหารของชาวมุสลิม โดยชาวจีนฮ่อมุสลิม ซึ่งบางแห่งเรียกชื่อเต็มว่า ข้าวซอยฮ่อ หรือ ข้าวซอยอิสลาม ดังนั้น ข้าวซอยจึงใช้เนื้อไก่และเนื้อวัวเป็นส่วนผสม 

ส่วนผสม

1.น่องไก่1กิโลกรัม
2.เส้นข้าวซอย1/2กิโลกรัม
3.น้ำมันพืช1ถ้วย
4.กะทิ3ถ้วย

เครื่องแกง

1.พริกแห้ง10เม็ด
2.กระเทียม10กลีบ
3.หอมแดง10หัว
4.ผิวมะกรูด1ลูก
5.กระชาย5หัว
6.ขมิ้น2ชิ้น
7.ตะไคร้ซอย2ช้อนโต๊ะ
8.น้ำตาลปี๊บ2ช้อนโต๊ะ
9.กะปิ3ช้อนโต๊ะ
10.ผงกะหรี่1ช้อนโต๊ะ

เครื่องเคียง

1.พริกป่นผัดน้ำมัน
2.หอมแดง
3.ผักกาดดอง
4.มะนาว
5.ผักชี
6.ต้นหอม

วิธีการทำ

1
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
2
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
3
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
4
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
5
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
6
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
7
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

1. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
2. ตั้งน้ำกะทิประมาณ 1 ถ้วย พอเดือด
3. ใส่เครื่องแกงผัดจนหอม
4. ใส่ผงกะหรี่ละลายน้ำเล็กน้อย
5. ใส่ไก่ ผัดให้เข้ากัน เติมน้ำเล็กน้อย ใส่น้ำตาลปี๊บ แล้วเติมกะทิ เคี่ยวต่อจนไก่นุ่ม
6. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช พอร้อนใส่เส้นข้าวซอยที่คลี่ออกจากกันแล้ว ทอดพอเหลืองกรอบ เพื่อทำเส้นกรอบสำหรับโรยหน้า
7. ลวกเส้นข้าวซอยกับน้ำเดือดประมาณ 1 นาที แล้วนำมาลวกในน้ำเย็น

เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม

เคล็ดลับในการปรุง
ข้าวซอยปรุงได้ทั้งเนื้อไก่ เนื้อวัว สำหรับการทำข้าวซอยเนื้อ สำหรับการทำข้าวซอยเนื้อควรหั่นเป็นชิ้นพอคำ ต้มให้เปื่อยก่อน แล้วนำไปเคี่ยวกับเครื่องแกง

เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม
การเลือกเนื้อไก่ ควรเลือกน่องและสะโพก สำหรับข้าวซอยเนื้อ ควรใช้เนื้อสันคอ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_lannafood.php?id_food=17
อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ

ขนมจีนน้ำเงี้ยว



ขนมจีน เป็นอาหารจานโปรดของหลายคน การดัดแปลงขนมจีนแล้วแต่ภาคแตกต่างกันไป เช่น ขนมจีนน้ำยาปลาช่อนของภาคกลาง ขนมจีนน้ำยาป่าภาคอีสาน ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ของภาคใต้ ถ้าเป็นภาคเหนือก็จะปรุงเป็นขนมจีนน้ำเงี้ยวก็จะต่างจากการทำน้ำยาของภาคอื่นๆ แทนที่จะใช้เนื้อปลา ก็จะใช้เป็นเนื้อสัตว์อื่นมาปรุงแทน เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ซี่โครงหมู เลือดหมู และรสชาติก็จะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของน้ำเงี้ยว

วิธีทำขนมจีนน้ำเงี้ยว

เครื่องปรุงขนมจีนน้ำเงี้ยว
1. ขนมจีน 30 จับ (1000 กรัม)
2. ซี่โครงหมูสับชิ้นเล็ก 500 กรัม
3. เลือดไก่หั่นชิ้น ขนาด 2×2 นิ้ว 500 กรัม
4. เนื้อหมูสับละเอียด 500 กรัม
5. มะเขือเทศลูกเล็ก (มะเขือส้ม) 500 กรัม
6. เกลือป่น 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
8. ดอกงี้ว ใส่ตามชอบค่ะ
9. น้ำมัน ¼ ถ้วย (45 กรัม)
เครื่องแกงขนมจีนน้ำเงี้ยว1. พริกแห้งแกะเม็ดแช่น้ำ 7 เม็ด (15 กรัม)
2. รากผักชีหั่นละเอียด 1 ช้อนชา (8 กรัม )
3. ข่าหั่นละเอียด 5 แว่น (40 กรัม)
4. ขมิ้นสดยาว 1 ซม.3 ชิ้น (15 กรัม)
5. ตะไคร้หั่นละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
6. หอมแดง 7 หัว (70 กรัม)
7. เกลือป่น 1 ช้อนชา (8 กรัม)
8. กระเทียม 3 หัว (30 กรัม)
9. กะปิ (หรือถั่วเน่าย่างไฟ 1 แผ่น)
10. 1 ช้อนชา (8 กรัม)
วิธีทำขนมจีนน้ำเงี้ยว1. โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
2. แช่ดอกงิ้วให้นิ่ม
3. ตั้งหม้อใส่น้ำ + ซี่โครงหมู ต้มให้เดือด และนำดอกงิ้วที่แช่ไว้ มาต้มด้วย
4. ใส่น้ำมันในกะทะ ตั้งไฟให้ร้อน ใส่เครื่องแกง ลงผัดให้หอม ใส่เนื้อหมู ผัดให้ทั่ว ผัดพอสุกใส่มะเขือเทศ คลุกให้ทั่ว ตักใส่ในหม้อที่ต้มซี่โครงหมู ตั้งไฟให้เดือดแล้วใส่เลือดไก่4. ตั้งไฟอ่อนพอให้น้ำเดือดปุดๆ เคี่ยวให้น้ำแกงหอม ซี่โครงหมูนุ่ม ปรุงรสด้วยเกลือ ชิมรส รับประทานกับขนมจีน หรือ เส้นใหญ่หั่นเล็กๆ ตามชอบ
ขนมจีนน้ำเงี้ยว
ขนมจีนน้ำเงี้ยว

สรรพคุณทางยาของขนมจีนน้ำเงี้ยว

1. มะเขือเทศ รสเปรี้ยว เป็นผักที่ใช้แต่งสีและกลิ่นอาหาร ช่วยระบายและบำรุงผิว
2. ผักกาดดอง รสเปรี้ยว ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะและลำไส้
3. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไขหวัด
4. ผักชี ช่วยละลายเสมหะ แก้หัด ขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เจริญอาหาร
5. มะนาว เปลือกผล รสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาว รสเปรี้ยวจัดขับเสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
6. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
7. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
8. ข่า รสเผ็ดปร่า และร้อน ช่วยขับลม ขับพิษโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้
9. ขมิ้นชัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
10. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
11. มะพร้าว (กะทิ) รสมัน บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูก
ประโยชน์ทางอาหาร ขนมจีนน้ำเงี้ยว เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย

คุณค่าทางโภชนาการของขนมจีนน้ำเงี้ยว

ขนมจีนน้ำเงี้ยว 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 3303 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
- น้ำ 3893.7 กรัม
- โปรตีน 476.4 กรัม
- ไขมัน 69.3 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 176.7 กรัม
- กาก 41.3 กรัม
- ใยอาหาร 8.3 กรัม
- แคลเซียม 1097.2 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 1947.3 มิลลิกรัม
- เหล็ก 509.6 มิลลิกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 1865 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 52038 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 198.4 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 5.4 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 91.7 กรัม
- วิตามินซี 320.2 มิลลิกรัม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://club.sanook.com/13530/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7/

"อาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือ"





ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดนต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วยอาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น    น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องมีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล  ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำ พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน  ชื่อต่าง ๆ เช่น  แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน

ตัวอย่างอาหารเมืองเหนือ



 1.ไส้อั่ว  คำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการนำสิ่งของยัดไว้ การทำไส้อั่ว นิยมใช้ไส้หมูและเนื้อหมู การทำไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหาร ให้สามารถรับประทานได้นานขึ้น คือประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในที่เย็น หรือปัจจุบัน มีการบรรจุถุงแบบสูญญากาศ ก็เก็บไว้ได้นานมากยิ่งขึ้น การทำให้ไส้อั่วสุก จะใช้วิธีปิ้ง หรือทอดก็ได้



2. น้ำพริกหนุ่ม คือ พริกหนุ่ม คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ




3.น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้  บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตร ใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส




4. แคบหมู  คือ แคบหมู เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวล้านนา ใช้รับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น น้ำพริก ขนมจีนน้ำเงี้ยว ใช้เป็นส่วนผสมในการตำน้ำพริก หรือแกง เช่น แกงบอน แกงผักตำลึง (แกงผักแคบ) แกงหน่อไม้ แคบหมูมีทั้งชนิดติดมัน และไม่ติดมัน ที่เรียกกันว่า แคบหมูไร้มัน ชาวล้านนาดั้งเดิม นิยมรับประทานแคบหมูเป็นอาหาร มากกว่าเป็นเครื่องแนม




5. แกงขนุน คือ  แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน ถือว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล บางท่านนิยมแกงกินในงานแต่งงาน เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน และในวันปากปี คือหลังวันเถลิงศก (วันพญาวัน) หนึ่งวัน บางแห่งนิยมใส่ข่า ตะไคร้ทุบ และอาจมีจักข่าน (สะค้าน) บ่าแขว่น (ผลกำจัด) โขลกใส่ลงไปในแกงด้วย




6.แกงอ่อม  คือ   เป็นแกงประเภทที่ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมหลัก เช่น ปลา เนื้อวัว เนื้อควาย เนื้อไก่ นอกจากเนื้อแล้ว นิยมใส่เครื่องในสัตว์เป็นส่วนผสมด้วย เรียกชื่อตามส่วนผสมหลัก ได้แก่ แกงอ่อมไก่ แกงอ่อมปลา แกงอ่อมเนื้อ (แกงอ่อมจิ๊นงัว แกงอ่อมจิ๊นควาย) แกงอ่อมหมู (แกงอ่อมจิ๊นหมู) บางก็แกงอ่อมเฉพาะเครื่องใน เช่น แกงอ่อมเครื่องในวัว แกงอ่อมเครื่องในควาย




7.แกงฮังเลหมู คือ  แกงฮังเลมี 2 ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า สำหรับแกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง งาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา และใช้เป็นส่วนผสมของแกงโฮะ




8.แอ็บปลา  คือ อาหารที่ปรุงด้วยการนำปลาสด เช่น ปลาช่อน ปลาดุก มาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง เช่นเดียวกับแอ็บอ่องออ แอ็บกุ้ง แล้วนำไปปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก






ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://piknikkannika.blogspot.com/





วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ชุดประจำชาติของญี่ปุ่น

กิโมโน (KIMONO)

กิโมโน (ภาษาญี่ปุ่น: 着物  kimono คิโมะโนะ) เป็นชุดแต่งกายประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น
ลักษณะของกิโมโน
กิโมโนประกอบด้วยเสื้อนางางิ (長着) ซึ่งมีลักษณะเป็นคลุมขนาดยาวที่มีแขนเสื้อที่มีความกว้างมาก และสายโอบิ (帯) ซึ่งใช้รัดเสื้อคลุมนี้ให้อยู่คงที่ ชุดกิโมโนทั้งของหญิงและชายเมื่อใส่แล้วจะพรางรูปของผู้สวมใส่ไม่ให้เห็นสัดส่วนที่แท้จริง ชุดกิโมโนของผู้หญิงโสดเป็นกิโมโนแขนยาว ลวดลายที่นิยมคือลายดอกซากุระ กิโมโนของผู้หญิงแต่งงานแล้วจะเป็นกิโมโนแขนสั้นสีไม่ฉูดฉาดมาก
untitled

ประวัติ
สมัยนารา (ค.ศ. 710 – 794) ก่อนที่ชุดกิโมโนจะเป็นที่นิยม ชาวญี่ปุ่นมักแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย
ต่อมาในสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 – 1192) ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดชุดเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ หยิบมาคลุมตัวได้ทันที ทั้งยังเป็นชุดที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ สามารถเปลี่ยนเนื้อผ้าที่ตัดเย็บให้เหมาะกับฤดูกาล ความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว โดยวงการแฟชั่นสมัยนั้น ผู้ตัดเย็บก็จะคิดหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสัน ผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและชนชั้นทาง สังคมถือว่าเป็นช่วงที่ชุดพัฒนาในเรื่อง สี มากที่สุด
ในยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1338 – 1573) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใส่ชุดกิโมโนที่สีสันแสบทรวง ยิ่งเป็นนักรบจะต้องยิ่งใส่ชุดที่สีฉูดฉาดมากๆเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำบางครั้งเรียกว่าไปแข่งแฟชั่นกันในสนาม รบเลยทีเดียว
ต่อมาในยุคเอโดะ ( ค.ศ. 1600-1868 ) ช่วงที่โชกุนโตกูกาวาปกครองญี่ปุ่น โดยให้ขุนนางไปปกครองตามแคว้นต่างๆ นั้น ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักจะแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตัวเอง เรียกว่าเป็น “ชุดเครื่องแบบ” เลยด้วยซ้ำชุดที่ใส่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ชุดกิโมโน ชุดคามิชิโม ตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้ง และกางเกงขายาวที่ดูเหมือนกระโปงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี้ยบมาก ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่พัฒนากิโมโนไปอีกขั้น จนเป็นผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง
สมัยต่อมา ในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 – 1912) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมากขึ้น ชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนมาใส่ชุดสากลในชีวิตประจำวัน และจะใส่ชุดกิโมโนเมื่อถึงงานที่เป็นพิธีการเท่านั้น
 วิธีการสวมชุดกิโมโน
1.สวมถุงเท้าทาบิสีขาวก่อนอันดับแรก สวมเหมือนถุงเท้าธรรมดาเลย!!
2.สวมชุดชั้นใน ที่เรียกกันว่า  จูบัน ซึ่งเป็นชุดชั้นในผ้าฝ้ายสีขาว ปัจจุบันนี้มีอีกแบบนึงที่เรียกว่า เอริ ซูกาตะ ซึ่งจะเป็นผ้าฝ้ายสีขาวเฉเพาะส่วนคอ
3. สวมกิโมโน สำหรับ ชาย และ หญิง จะมีวิธีที่เหมือนกัน คือ ซ้ายทับขวาหลังจากนั้นตรวจเช็คด้านหลังให้แน่ใจว่าตะเข็บอยู่ตรงกลาง
ปล.ถ้าขวาทับซ้ายจะเป็นสวมชุดกิโมโนให้กับคนตาย
4.ปรับคอชุดชั้นในให้โชว์ออกมาเพียงเล็กน้อยเท่าๆกันภายใต้คอของชุดกิโมโน
หลังจากเสร็จขั้นตอนของการสวมชุดกิโมโนแล้ว เรายังต้องคาดโอบิอีก
1.ดึงกิโมโนให้สุดความยาวของมัน
2.คาดเชือก โคชิ-ฮิโม จากด้านหลังแล้วผูกที่ด้านหน้า
3.คาดเข็มขัดอีกชิ้นนึง เรียกว่า date-jime belt ให้ทับ โคชิ-ฮิโม
4.วาง โอบิ-มาคุระ ไว้ที่ตำแหน่ง
5.ห่อด้วยโอบิ หรือ ผ้าคาดเอว
6.ผูกปลายทั้ง2 แล้วพับโอบิข้ามเอวไปด้านหลัง
8.ผูกให้แน่นตรงจุดกึ่งกลาง
 คำแนะนำ
–  เกล้าผมและติดปิ่นปักผมเพื่อความสวยงาม
–  อย่าลืมสวมรองเท้า Geta (เกี้ยะ)
–  ไม่ต้องกังวลถ้ากิโมโนยาวไปสำหรับคุณเพราะกิโมโนถูกทำขึ้นแบบนั้นอยู่แล้ว
โคชิ-ฮิโม
1
เอริ-ซูกาตะ
2
โอบิ มาคุระ
3
Date-jime belt (เข็มขัดกิโมโน)
4
รองเท้าเกี๊ยะ (Geta Sandals)

5

ขนมน่าทาน ของญี่ปุ่น!!!



วากาชิ (Wagashi) ขนมหวานญี่ปุ่น

          ขนมหวานญี่ปุ่นเรียกรวมกันว่า "วากาชิ" (Wagashi) มีมานานตั้งแต่สมัยนะระหรือประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว เฟื่องฟูในช่วงเอโดะ (ปี ค.ศ. 1603-1867) โดยเฉพาะในเมืองเกียวโตและโตเกียว แต่ละร้านแข่งกันขายแข่งกันคิดขนมใหม่ๆ จนกลายเป็นต้นตำรับของขนมญี่ปุ่น และถึงจะได้ชื่อว่าเป็นขนมหวานประจำชาติ แต่ชาวญี่ปุ่นก็ไม่ได้กินวากาชิกันบ่อยๆ ประเภทกินตบท้ายมื้ออาหารแบบบ้านเรานั้นไม่มี เพราะเขานิยมกินผลไม้กันมากกว่า ส่วนวากาชินี้จะกินเป็นของว่างและในโอกาสพิเศษเมื่อมีพิธีการต่างๆเช่น พิธีแต่งงาน หรือพิธีชงชา
          แรงบันดาลใจของพ่อครัวแม่ครัวในการสร้างสรรค์ขนมวากาชินั้นก็ได้มาจากธรรมชาติ ต้นไม้ ดอกไม้ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น ฤดูใบไม้ร่วงจะทำขนมคิคุโกะโระโมะรูปดอกเบญจมาศ ส่วนฤดูหนาวก็ทำยูคิโมจิ หรือโมจิหิมะ เป็นต้น
          มาถึงการแบ่งประเภทของวากาชิกันบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้แบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจนเพราะขนมแต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ถ้าแยกตามวัตถุดิบและวิธีทำก็พอจะแบ่งแบบกว้างๆได้ตามนี้

โดรายากิ (Dorayaki)

dorayaki~*

อันนี้คงรู้จักกันเป็นอย่างดี เป็นขนมที่แมวสีฟ้าโดเรมอนชอบกิน จนเอาชื่อของแมวตัวนั้นมาตั้งเป็นชื่อขนม ขนมนี้ทำจากแป้งแพนเค้กสองชิ้นประกอบกันสอดใส้ถั่วแดงแค่นั้นเอง

โจ นะมะกะชิ (Jyo-Namagashi)

Jyo-Namagashi

ขนมญี่ปุ่นส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เป็นแป้งห่อไส้ถั่วแดงบดหรือ "อัน" (An) แป้งที่นำมาห่อหุ้มมีทั้งแป้งท้าวยายม่อม แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า ปั้นเป็นรูปทรงต่างๆทั้งดอกไม้ ผลไม้ พระจันทร์ ซึ่งจะออกแบบให้เข้ากับฤดูกาล ทั้งชื่อขนม ส่วนผสม รูปทรงและสีสัน เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้ผู้คนได้รู้ว่าฤดูกาลใหม่กำลังจะมาเยือน ตัวอย่างเช่น ซากุระโมจิ (โมจิสีชมพูห่อด้วยใบซากุระ) ซึ่งจะออกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ 

ฮิงะชิ (Higashi) 

Higashi

เป็นขนมแบบแห้ง เก็บไว้ได้นาน ทำจากแป้งข้าวเหนียว น้ำตาล และวาซัมบงโตะ (Wasambon-to) น้ำตาลผงที่ทำด้วยกรรมวิธีแบบดั้งเดิมผสมกันแล้วนำมาอัดในพิมพ์ ได้ขนมที่ผิวเป็นแป้งแห้งๆคล้ายขนมโก๋ เสิร์ฟในพิธีชงชา

เซมเบ้ (Sembei)

Sanbei

เป็นข้าวเกรียบสีน้ำตาล เคี้ยวกรุบกรอบ มีหลากรูปร่างหลายขนาด (ใหญ่ที่สุดที่เคยเห็นก็ขนาดเท่าแผ่นเสียง) แต่แบบยอดฮิตคือทรงกลมแบนเหมือนที่รองแก้ว ทำจากข้าวเหนียวนำมาปิ้ง แต่งรสด้วยโชยุและเกลือเป็นหลัก ราดหน้าด้วยงา สาหร่าย พริก เพิ่มกลิ่น เพิ่มรสให้อร่อยกันได้หลายแบบ นอกจากนี้ยังมีเซมเบ้แบบหวานหรือซาราเมะ เซมเบ้ (Sarame Sembei) ทำจากแป้งสาลี น้ำตาลและกลูโคส

โนะนะกะ (Monaka)


คือเวเฟอร์ไส้ถั่วแดง มีทั้งถั่วบดและแบบเต็มเม็ด ประกบด้วยแผ่นแป้งบางกรอบทำจากข้าวเหนียว ทำเป็นรูปวงกลม สี่เหลี่ยมดอกซากุระ และอีกสารพัดรูปแล้วแต่จะสร้างสรรค์ โดดเด่นที่ความกรอบกับความนิ่มผสานกับรสหวานๆมันๆ นอกจากไส้ถั่วแดงแล้วยังมีไส้ชาเขียวและถั่วอื่นๆด้วย

โยคัง (Yokan)



ใช้ส่วนผสมหลักคือวุ้นที่ได้จากสาหร่าย เรียกว่า คันเตน (Kanten) แบ่งได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ มิซุ โยคัง เป็นวุ้นใสๆแช่เย็น กินในฤดร้อนผสมผลไม้ลงไป ได้รสหวานเย็น หอมชื่นใจ อีกชนิดคือ มุชิ โยคัง เป็นวุ้นขุ่นๆ เนื้อนิ่มเหนียว ตัดเป็นชิ้นเหลี่ยมพอคำ ทำจากถั่ว เกาลัด หรือมันที่บดละเอียด แป้งสาลี น้ำตาล และคันเตน

มันจู (Manjyu)


manju

เป็นขนมกลมๆแป้งด้านนอกที่ห่อทำจากแป้งมันเทศ (บางครั้งใช้แป้งโซบะ) ไส้เป็นถั่วบดและมีมันเทศหรือเกาลัดอยู่ตรงกลางไส้อีกที นำไปนึ่ง อบหรือย่าง จึงได้ขนมอร่อยโดยเฉพาะขนมโมมิจิมันจูที่เมืองมิยาจิมาโดดเด่นที่ห่อด้วยใบเมเปิล มีหลายไส้ทั้งถั่วแดงบด คัสตาร์ด ช็อคโกแลต ถือเป็นของเxHนของดังที่ไม่ว่าใครไปเยือนก็ต้องลองชิม

ดังโกะ (Dango)

Dango

มีเป็นสิบสูตร แต่ที่หน้าตาเหมือนลูกชิ้นเสียบไม้ที่เราเคยเห็นกันเรียกว่า คุชิ ดังโกะ ทำจากแป้งโมจิ บางครั้งก็ผสมเต้าหู้ลงไปในแป้งด้วย ปั้นเป็นลูกกลม เสียบไม้แล้วนำไปปิ้ง ได้ลูกชิ้นแป้งนุ่มๆเหนียวๆราดซอสโชยุ ซอสเต้าเจี้ยว หรือเกาลัดบด หรือจะโรยด้วยถั่วบดกับน้ำตาลทรายแดงก็เข้าท่า

ไดฟุกุ (Daifuku)

daifuku

คนไทยเราชอบเรียกว่าโมจิไส้ถั่วแดง แต่จริงๆเขาเรียกขนมประเภทนี้ว่าไดฟุกุ แป้งด้าน นอกทำจากแป้งข้าวเหนียวนึ่งที่นำมาตีจนเหนียว (โมจิ) มีสีขาว เขียวและชมพู ส่วนไส้ก็เป็นถั่วแดง ที่พิเศษก็จะใส่ผลไม้ลงไป เช่น อิจิโกะ ไดฟุกุ (Ichigo Daifuku) เป็นโมจิไส้ลูกสตรอร์เบอร์รี่หอมหวาน อร่อยจับใจ นอกจากนั้นยังมีไส้เมลอนบดและไอศกรีมรสต่างๆด้วย

ไทยะกิ (Tai Yaki)


ขนมหน้าตาน่ารักรูปปลาตัวเท่าผ่ามือ เป็นขนมที่จำลองรูปแบบของปลากะพงแดง เรียกอีกชื่อว่า "แพนเค้กญี่ปุ่น" เนื้อแป้งแน่นและเหนียวนุ่ม นอกจากไส้ถั่วแดงมาตรฐานแล้วก็มีไส้เกาลัด ไส้มันหวานและอีกสารพัดไส้ รูปทรงก็มีสารพัดรูปเช่นกัน ทั้งรูปตุ๊กตา รูปกลมๆ แบนๆ ที่เรียกว่า อิมะกะวะ ยะกิ และที่เรารู้จักกันดีที่สุด โดรายากิ ขนมสุดโปรดของโดราเอมอนที่เป็นรูปฆ้องนั่นเอง

บัวลอยถั่วแดง (Azuki Shiratama)


เป็นถั่วแดงต้ม แล้วมีแป้งก้อนกลมเล็กๆ ใส่อยู่ด้วย เหนี่ยวๆ หนึบๆ

ขนมสอดใส้ถั่วแดง


ญี่ปุ่นมีขนมสอดใส้ถั่วแดงเยอะ รวมไว้ทีเดียวเลยละกัน ก็พวกขนมปังไส้ถั่วแดง โดนัทถั่วแดง ซาลาเปาถั่วแดง สารพัด

หวานเย็นถั่วแดง (Anmistu)


เป็นของหวานคนแก่ มีถั่วแดง ผลไม้ และของหวานอื่นๆ ตามแต่จะใส่ลงไป แล้วราดด้วยน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลทรายแดง ให้รสชาติหวานหอม เหมาะสำหรับกินหน้าร้อน ตอนต้นมา ก็ได้ไปกินกัน

ขนมไข่ยุ่น (Kasutera)


เป็นขนมไข่ ชื่อเรียกยาก คาสเทลล่า จังหวัดที่ทำขนมไข่ที่ดังมากคือ ฮิโรชิม่า ใครไปฮิโรชิม่า ก็ต้องแบกขนมไข่มาฝากคนรู้จักกันทั้งนั้น ขนมไข่ยุ่นนี้ นุ่มมากครับ ใครกินเนยสดที่ว่านุ่มๆ แล้วจะเปลี่ยนใจทันที ที่นี่เค้าจะคัดไข่ชั่งน้ำหนักทีละฟอง เพื่อให้ได้ส่วนผสมที่ตรงเป๊ะๆ ออกมานุ่มทุกชิ้น

ซากุระโมจิ (Sakuramochi)


เป็นขนมที่ทำจากแป้งโมจิ หรือแป้งข้าวเหนียวบ้านเราน่ะครับ แล้วห่อด้วยใบซากุระ

เยลลี่ถั่วแดง Mizuyoukan


เป็นของหวานคนแก่ แต่ถ้ากินตอนอากาศร้อนๆ ก็ช่วยให้ร่างการสดชื่นได้ เป็นเยลลี่ถั่วแดง และมีรสอื่นๆ ด้วยเช่น ชาเขียว เป็นต้น มีรสหวานแหลมมาก

มาต่อที่เมืองโตเกียวกันเลย


1.Mamemochi (豆餅)  ขนมโมจิไส้ถั่วแดงที่มีถั่วเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย  โมจิที่ดีจะต้องมีความหวานกำลังดี ไม่หวานมากเกินไป ส่วนความนุ่มเหนียวของแป้งโมจิ ก็จะต้องไม่เหนียวจนเกินไปด้วย Mamemochi (豆餅)  เป็นขนมที่มีความพอดีทั้งสองอย่างที่พูดมา จึงเป็นขนมยอดนิยมของจังหวัดเกียวโตที่ลูกค้าต้องต่อคิวเข้าซื้อกันอย่างเนืองแน่นทุกวัน


2.Chienomochi (智恵の餅)  ถ้าใครได้ไปแวะเยี่ยมชม วัด Chion (智恩寺:ちおんじ) แล้วล่ะก็อย่าพลาดชิมนะคะ เป็นขนมโมจิขนาดประมาณนิ้วโป้ง ที่ปาดหน้าด้วยถั่วแดงกวน คำว่า Chie (知恵) ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า สติปัญญา เชื่อกันว่าถ้าได้กิน Chienomochi (智恵の餅) แล้วล่ะก้อ จะก่อให้เกิดแสงแห่งปัญญา



3. Fumanjuu/Nama  Fumochi (麩饅頭・生麩餅)  ขนมดั้งเดิมของเกียวโต ที่ใช้แป้งสาลีคุณภาพดีมาห่อไส้ที่เป็นถั่วแดงกวน แล้วก็นำไปห่อด้วยใบไผ่ Kumazasa (熊笹の葉) อีกทีเพื่อเพิ่มความหอมให้แก่ตัวโมจิ ความนุ่มของแป้งสาลีที่ใช้บวกกับความหอมที่ได้จากใบไผ่ Kumasasa ทำให้ Fumanjuu/Nama Fumanjuu เป็นขนมโมจิที่แตกต่างกับขนมโมจิทั่วไป 


4.Kuzukiri (くずきり)  ขนมที่ทำมาจากแป้ง Kuzu (葛:くず แป้งเท้ายายม่อม) ที่ทำให้สุกด้วยการกวนกับน้ำด้วยไฟอ่อนปานกลาง เมื่อเย็นแล้ว แป้งรวมตัวเป็นก้อน ราดด้วยน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลทรายดำ เป็นของหวานที่นิยมรับประทานกันในช่วงหน้าร้อน


5.Kyonamagashi (京生菓子)  หมายถึงขนมตามฤดูกาลประจำจังหวัดเกียวโต  เนื่องจากเกียวโตเป็นจังหวัดที่มีขนมโบราณหลายชนิดมากๆ ดังนั้นคนเกียวโตจึงมีวัฒนธรรมการเลือกรับประทานขนมตามฤดูกาลเช่น ปีใหม่ก็เริ่มต้นด้วย Kagami Mochi (鏡餅) โมจิปั้นเป็นรูปกลมแบน วางซ้อนกัน 2 ขนาด ตั้งไว้เซ่นไหว้ในช่วงปีใหม่ ฤดูใบไม้ผลิก็ Sakura Mochi (桜餅) เป็นต้น



มาต่อที่เมืองนาโงย่ากันเลยดีกว่า

 1.Uirou (ういろう) ขนมขึ้นชื่อของเมือง Nagoya ที่เป็นที่รู้จักของคนญี่ปุ่นทั้งประเทศ เป็นขนมญี่ปุ่นเก่าแก่ที่ผลิตมาตั้งแต่สมัย Edo เป็นขนมโมจิที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าที่มีความเนียวน้อย “Uruchi Kome うるちこめ” ทำให้ขนมมีความนุ่มเป็นพิเศษ นวดแป้งกับน้ำตาลทราบขาว น้ำตาลทรายดำ และช่วยเพิ่มความหลากหลายของรสชาติด้วยการเติมส่วนผสมของชาเขียวหรือถั่วแดง นิยมรับประทานเป็นของว่างพร้อมกับการดื่มชา



 2.Bankaku No Yukari (坂角のゆかり) ข้าวเกรียบกุ้งที่ในแต่ละแผ่นมีส่วนผสมของกุ้งถึง 70% รสชาติเข้มข้นและด้วยขั้นตอนที่จะต้องผ่านการอบข้าวเกรียบถึง 2 ครั้ง  ทำให้ Bankaku No Yukari เป็นข้าวเกรียบกุ้งทีมีมีกลิ่นหอมมาก 


3. Oni  Manjuu (鬼まんじゅう) ขนม Manjuu ที่ดัดแปลงมาจากขนมปังนึ่งของเมือง Aichi ในอดีต เป็นขนมที่มีส่วนผสมของแป้งสาลี น้ำตาล แล้วก็มันหวาน ตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ จุดเด่นของขนมอยู่ที่ความหวานของมันที่เข้ากันเป็นอย่างดีกับความเหนียวของแป้ง เนื่องจากผิวขนมมีลักษณะขรุขระ เหมือนกับไม้กระบองของยักษ์ญี่ปุ่น  จึงตั้งชื่อขนมนี้ว่า “Oni Manjuu”  (Oni  鬼 = ยักษ์)


4.Nayabashi Manjuu (納屋橋まんじゅうขนม Manjuu ที่มีมาตั้งแต่สมัย Meiji  แป้ง Manjuu ที่ใช้เกิดจากการผสมข้าวเหนียวและยีสต์ป่น จากนั้นก็เติมแป้งสาลีเข้าไปเป็นการหมักแป้งแบบธรรมชาติ ส่วนไส้ถั่วแดงนั้นก็ใช้ถั่วแดงคัดพิเศษจาก Hokkaido  เมื่อใช้แป้ง Manjuu ห่อถั่วแดงแล้วก็จะนำไปนึ่ง เนื่องจากไม่ใช้น้ำตาลในการหมักแป้งเลยทำให้เนื้อแป้ง Manjuu จะเกิดการแข็งตัวหลังจากเวลาผ่านไปสัก 3-4 วัน เมื่อต้องการจะรับประทานจึงนิยมนำไปอุ่นอีกครั้งด้วยการทอด หรือเข้าเตาอบ แล้วก็ปรุงรสด้วยซอสต่าง ๆ เช่น ซอสโชยุ หรือน้ำผึ้งเป็นต้น



ต่อๆกันเลยที่เมืองฟุกุโอกะ

1.Narikin Manju (成金饅頭) ขนม Dorayaki ชนิดหนึ่งของเขต Kyushuu มีจุดเด่นที่รสชาติของถั่วแดงกวน คนญี่ปุ่นนิยมซื้อเป็นของฝากเนื่องในงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายในวันครบรอบวันตาย หรือแม้แต่ในงานศพ



2.HakataBurabura (博多ぶらぶら) ขนมที่มีชื่อเสียงของ Hakata 博多 เป็นขนมโมจิสอดไส้ถั่วแดงกวน โดยถั่วแดงที่ใช้นั้นเป็นถั่วแดงชื่อดังของฮอกไกโด ส่วนข้าวเหนียวที่นำมาให้ทำแป้งโมจินั้นก็ทำมาจากข้าวชั้นหนึ่งของจังหวัด Saga 佐賀


3.Tsukushi Mochi (筑紫もち) ขนมญี่ปุ่นดั้งเดิม (Wagashi 和菓子) ที่ขึ้นชื่อของเขต Kyushuu เป็นขนมโมจิที่ใส่ใจทุกความละเอียด แม้แต่น้ำที่ใช้เป็นส่วนผสม ยังต้องผ่านกระบวนการผลิตให้เป็นน้ำแร่บริสุทธิ์จริงๆ ถึง 6 ขั้นตอน Tsukushi Mochi เป็นขนมโมจิที่ถูกบรรจุแยกแต่ละชิ้นอย่างปราณีต แต่ละห่อจะโรยKinoko きのこ (แป้งถั่วเหลืองผสมน้ำตาลใช้โรยขนมโมจิหรือดังโกะ) ไว้ที่ขนมโมจิ และมีน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลทรายดำมาไว้ให้ราดที่ขนมโมจิเวลารับประทานด้วย 


4.Hakata NoHito (博多の女) ขนมเค้กเชื้อชาติเยอรมันที่มีชื่อว่า Baumkuchen หรือที่บ้านเราเรียกว่าเค้กพันชั้น สอดไส้ถั่วแดง แล้วตัดแบ่งเป็นชิ้นขนาดพอดีคำ นับเป็นขนมร่วมสมัยที่ขึ้นชื่อของ Hakata มากว่าหลายสิบปี


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 http://www.marumura.com/top_japan/
  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=200222